สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
THE OFFICIAL WEBSITE OF THAI TRANSPLANTATION SOCIETY
Royal Golden Jubilee Building; 4th Floor, New Petchburi Road, Bangkok
(+66) 02-716-6181
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
THE OFFICIAL WEBSITE OF THAI TRANSPLANTATION SOCIETY
× หน้าหลัก (current)
หน้าหลัก > สำหรับประชาชน > ความรู้สำหรับประชาชน >

ความรู้สำหรับประชาชน

วันอังคาร ที่ 31 ม.ค. 2566
ปลูกถ่ายไตจากคนในครอบครัวสู่ผู้ป่วยไตเรื้อรังคืออะไร?
. ผู้ป่วยหลายคนต้องเผชิญกับความยากลำบากขณะที่ต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไต ไม่ว่าจะเป็นภาระค่าใช้จ่าย เวลาที่เสียไป และคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป “การปลูกถ่ายอวัยวะในครอบครัว” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนขณะรออวัยวะจากผู้บริจาคสมองตายได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่ต้องรอไตที่ได้รับการจัดสรรจากศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ซึ่งระยะเวลาเฉลี่ยในการรอไตจากผู้บริจาคสมองตายอยู่ที่ 5-9.99 ปี ซึ่งหากเราสามารถลดระยะเวลาการรอให้สั้นลง โอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาใช้ได้อย่างปกติก็มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น โดยระยะเวลารอไตจากคนในครอบครัวเฉลี่ยแล้วน้อยกว่า 1 ปี . ใครในครอบครัวที่สามารถบริจาคไตได้? 1. ญาติที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น ลูก, พ่อ, แม่, พี่, น้อง 2. สามีภรรยาโดยชอบตามกฎหมาย หรืออยู่กินกันมากกว่า 3 ปีขึ้นไป . ชีวิตหลังผ่าตัดสำหรับผู้รับและผู้ให้จะเป็นอย่างไร? ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่าตอนรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต โดยไม่ต้องไปฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องอีกต่อไป แต่จะเป็นการกินยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ทำให้สามารถทำกิจกรรมหรือทานอาหารได้เหมือนคนปกติทั่วไป รวมถึงสามารถมีบุตรได้ด้วยเช่นกัน . สำหรับผู้บริจาคไต แม้จะเหลือไตเพียง 1 ข้าง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยผู้บริจาคจะยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนเดิม ไม่ได้มีข้อห้ามในการทำกิจกรรมหรือทานอาหารแต่อย่างใด สามารถเล่นกีฬาและมีบุตรได้ เพียงแต่ต้องตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเอง . ติดต่อบริจาคอวัยวะ โทร. 1666 หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.organdonate.in.th . #TheGiverPowerful #การให้ยิ่งใหญ่เสมอ #บริจาคอวัยวะ
วันอังคาร ที่ 31 ม.ค. 2566
เพิ่มเติม   
วันศุกร์ ที่ 28 ก.พ. 2563
คำแนะนำเรื่อง Covid-19 กับการปลูกถ่ายอวัยวะ
คำแนะนำ Covid-19 ในการปลูกถ่ายอวัยวะ คำแนะนำการฉีด Vaccine ป้องกัน Covid-19 สำหรับผู้บริจาคและผู้รับอวัยวะ คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Vaccine Covid-19 ฉบับลงวันที่ 6 กรกฏาคม 2564 คำแนะนำการปรับยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการฉีด Vaccine กระตุ้นเข็ม 3 สำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ คำแนะนำการฉีด Vaccine กระตุ้นเข็ม 3 และ4 สำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2565 คำแนะนำในการรับอวัยวะเพื่อปลูกถ่ายในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 คำแนะนำในการรับอวัยวะเพื่อปลูกถ่ายในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19
วันศุกร์ ที่ 28 ก.พ. 2563
เพิ่มเติม   
วันจันทร์ ที่ 10 มิ.ย. 2562
การรณรงค์ส่งเสริมการบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคมีชีวิต
เรื่องราวของความรักอันยิ่งใหญ่..ของสามีและภรรยาคู่หนึ่ง ที่จะมาแบ่งปันบอกเล่าช่วงเวลาแห่งรอยยิ้ม และใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข

แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันครั้งใหญ่ เมื่อสามีป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ซึ่งต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางช่องท้อง หรือปลูกถ่ายไตเท่านั้น ทำให้ภรรยาตัดสินใจบริจาคไตให้สามี!!!

จากช่วงเวลาของ "เขา" และ "เธอ" ได้กลายเป็นช่วง "เวลาของเรา" มากกว่าคำว่า "คู่รัก" เค้าทั้งสองคนได้กลายเป็น "คู่แท้"

วันจันทร์ ที่ 10 มิ.ย. 2562
เพิ่มเติม   
วันอังคาร ที่ 14 ก.พ. 2555
รวมสื่อ สำหรับการรณรงค์การบริจาคอวัยวะ
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมสื่อ-multimedia เพิ่อให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีในการบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอวัยวะวายที่กำลังรอคอยอวัยวะอีกจำนวนมาก "บุญอันยิ่งใหญ่" แรงบันดาลใจ จากการอ่านบทสัมภาษณ์ คุณแม่ผู้ตัดสินใจบริจาคอวัยวะของลูกชายที่จากไปด้วยอุบัติเหตุ ว่าได้สูญเสียลูกชายไปก่อนวัยอันควรโดยที่ลูกชายยังไม่ทันได้บวชให้แม่ การบริจาคอวัยวะเป็นเสมือนการทำบุญอันยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายของชีวิต "เราเดินไปจับมือลูกและบอกลูกว่าหนูไม่ต้องบวชให้แม่ ไม่ต้องเป็นทหาร แต่แม่ขอร่างซึ่งจากนี้ไปเราก็จะให้กับคนอื่น ซึ่งวันนั้นเราก็เห็นน้ำตาของลูกด้วย" อยากให้พี่ชายได้มีโอกาสทำบุญครั้งสุดท้าย ด้วยการบริจาคอวัยวะให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ เพราะไม่แน่วันหนึ่งเราอาจจะได้สบตากับดวงตาคู่นั้นของพี่ชายก็ได้
วันอังคาร ที่ 14 ก.พ. 2555
เพิ่มเติม